Translate

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แนะนำสุดยอดบล็อก


                                                   วันนี้ขอแนะนำสุดยอดบล็อก
                                                   เรื่อง บล็อกแม่น้ำสายสำคัญ
                                                http://0818958780.blogspot.com
                                                   เรื่อง บล็อกการแต่งกายประจำชาติอาเซียน
                                                http://ploysiooo.blogspot.com
                                                  เรื่อง  บล็อกสุนัขพันธุ์ปอมปอมน่ารู้
                                                http://kanjarat2555.bolgspot.com  
                                                  เรื่อง  บล็อกอาเซียนควรรู้
                                                http://ploysweet587.blogspot.com 
                                                  เรื่อง  บล็อกสิ่งประดิษฐ์รักโลก
                                                http://achiraya07.blogspot.com                                                                                 เรื่อง  บล็อกมรดกโลก
                                                 http://jamp2522.blogspot.com
                                                  เรื่อง  บล็อกสัตว์เลี้ยงแสนรัก
                                                 http://sirikorntt.blogspot.com
                                                  เรื่อง  บล็อกสถานที่ท่องเที่ยว
                                                 http://bellaanubanranong.blogspot.com
                                                  เรื่อง  บล็อกนาฬิกานาโนและไอโฟน
                                                 http://mildza12300.blogspot.com
                                                  เรื่อง  บล็อกมหัศจรรย์โลกการ์ตูน
                                                 http://readandwatchcartoonfree.blogspot.com

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

                                                          ธนบัตร ตะเกียบ

วิธีการทดลอง

1.พับธนบัตรให้เป็นครึ่งนึง
2.วางตะเกียบไว้บนสันของธนบัตร
3.แล้วค่อยๆกางธนบัตรออกมาให้ตร

ผลที่เกิดขึ้น
ตะเกียบจะอยู่บนสันธนบัตรพอดี แล้วสามารถยกธนบัตรขึ้นลงได้โดยที่ตะเกียบจะไม่ตก

เป็นเพราะอะไร
เป็นเพราะแรงเสียดทานในขณะที่กางธนบัตรออก ตะเกียบที่วางอยู่จะขยับตามไปด้วย เพราะจุดที่ตะเกียบสัมผัสกับธนบัตรจะเกิดแรงเสียดทาน จุดที่มีเเรงเสียดทามมากกว่าจะเคลื่อนที่ตามธนบัตร ในขณะที่อีกจุดหนึ่งจะปล่อยให้ธนบัตรเคลื่อนที่ผ่านไปโดยทั้ง2จุด จะสลับไปมา จนธนบัตรกางออกเป็นเส้นตรง ตะเกียบก้อจะวางอยู่บนสันธนบัตรพอดี
                                                          การทดลองเทียนไขดูดน้ำ
                       
อุปกรณ์การทดลอง
1.เทียนไข     2.แก้วน้ำ   3.จาน  4.ถ้วยใส่น้ำ  5.ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ก (ใส่สีผสมอาหารเพื่อให้มีสีสันก็ได้)
วิธีการทดลอง
1.ให้หยดสีผสมอาหารลงในน้ำที่เตรียมไว้เพื่อให้น้ำเป็นสีที่เราใส่ลงไป
2.ให้เทน้ำที่ผสมสีไว้แล้วลงในจานที่เตรียมไว้
3.นำเทียนไปวางบริเวณกึ่งกลางของจานแล้วจุดไฟ
4.นำแก้วครอบเทียนไว้ รอสักครู่ไฟจะดับสังเกตว่าน้ำที่อยู่รอบๆแก้วจะค่อยๆ ไหลเข้ามาอยู่ในแก้
สรุปผลการทดลอง
     สาเหตุที่น้ำด้านนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะเมื่อ ออกซิเจนที่มีภายในถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมดน้ำและออกซิเจนที่อยู่ด้านนอกจะถูกดันเข้าไปแทนที่อากาศข้างในแก้ว

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

                                                                  การทดลองดังกว่า

                                                      
วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.เศษกระดาษ
3.ไม้บรรทัด
4.ยางรัด
วิธีการทดลอง
1.เป่าลูกโป่งให้พองเต็มที่ แล้ววัดความกว้างของลูกโป่งนี้ว่าเป็นเท่าไร
2.ให้เพื่อนถือเศษกระดาษให้อยู่ระดับหูห่างจากหูเท่ากับความกว้าง ลูกโป่ง แล้วใช้นิ้วมือเคาะเบาๆที่กระดาษ สังเกตว่าได้ยินเสียงหรือไม่ อย่างไร
3.จับลูกโป่งในข้อ 1 แนบหู ให้เพื่อน สอดเศษกระดาษเข้าไประหว่าง ลูกโป่งและมือที่จับ แล้วใช้นิ้ว เคาะเบาๆที่กระดาษเปรียบเทียบ ความดังที่ได้ยิ
ผลการทดลอง
เมื่อเคาะเบาๆที่กระดาษที่แนบติดกับลูกโป่งจะได้ยินเสียงดังชัดเจน กว่าเมื่อเคาะโดยไม่มีลูกโป่งกั้น ที่เป็นดังนี้เพราะอากาศภายในลูกโป่งมี มากและถูกอัดให้อยู่ภายในลูกโป่ง ดังนั้นอนุภาค (โมเลกุล) ของอากาศจะ อยู่ใกล้ชิดกันมากกว่าอนุภาคของอากาศภายนอก อากาศที่มีอนุภาคใกล้ชิด กันมากจะเป็นตัวกลางที่ดีในการให้เสียงเคลื่อนที่ผ่าน
                                                            การทดลองลูกโป่งประหลาด
                                                           
วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.กระดาษ
3.เศษกระดาษ
4.ยางรัด
5.เกลือ น้ำตาล พริกไทย เส้นผม
วิธีการทดลอง
1. โรยเกลือ น้ำตาล พริกไทยไว้บนกระดาษซึ่งมีเศษกระดาษเล็กๆ อยู่
2. เป่าลูกโป่งแล้วรัดด้วยยางให้แน่น
3. แหย่ลูกโป่งใกล้ๆ เศษกระดาษ เกลือ น้ำตาล พริกไทย และ เส้นผม แล้วสังเกตผล
4. ถูลูกโป่งที่เสื้อผ้านักเรียน แล้ว ลองแหย่ใกล้ๆ วัสดุในข้อ 3 อีกครั้ง แล้วสังเกตผล
ผลการทดลอง
เมื่อแหย่ลูกโป่งที่ถูกับเสื้อผ้าใกล้ๆ เศษกระดาษน้ำตาล เกลือ พริกไทย และเส้นผมสิ่งเหล่านี้จะถูกดูดติดกับลูกโป่ง ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ถูลูกโป่งกับ เสื้อผ้านั้น จะเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ทำให้สามารถดูดวัสดุเบาๆ ขึ้นมาได้
เศษกระดาษ น้ำตาล ฯลฯนั้นปกติอยู่ในสถานะเป็นกลาง เมื่อถูลูกโป่ง ด้วยเสื้อผ้าประจุลบจะมาเรียงกันที่ผิว เมื่อนำลูกโป่งมาใกล้เศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ประจุลบบนลูกโป่งจึงดูดประจุบวกบนเศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดูดติดกับลูกโป่ง
การทดลองนี้ต้องทดลองในวันที่อากาศแห้ง วัสดุต่างๆ ต้องแห้งด้วย จึงจะได้ผล
                                                                การทดลองหอบไปได้
                                              
วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกปิงปอง 2 ลูก
2.เชือกขนาดเล็ก 2 เส้น
3.ไม้บรรทัดหนา
4.หนังสือหลายๆ เล่ม
5.เทปใส
วิธีการทดลอง1.ใช้เทปใสติดปลายเชือกกับลูกปิงปองเส้นละลูก แล้วผูกอีกปลายหนึ่ง เข้ากับไม้บรรทัด ให้ลูกปิงปองห่างกันประมาณ 2 เซนติเมตร
2.วางไม้บรรทัดในข้อ 1 ไว้บนขอบโต๊ะโดยให้ส่วนที่มีลูกปิงปองห้อยนั้น อยู่ห่างจากขอบโต๊ะประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้หนังสือหลายๆเล่มทับ ไม้บรรทัดด้านที่อยู่บนโต๊ะ
3. เป่าลมผ่านช่องระหว่างลูกปิงปอง ทั้งสองลูกก่อนเป่าให้คาดเดาไว้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น สังเกตผล
4.ทำเช่นเดียวกับข้อ 3 โดยเป่าด้วย แรงมากน้อยต่างกัน สังเกตผล
ผลการทดลอง
เมื่อเป่าลมผ่านระหว่างลูกปิงปอง ลูกปิงปองทั้งสองจะเบนเข้าหากัน และยิ่งเป่าแรงมาก ลูกปิงปองก็จะเบนเข้าหากันมากขึ้นและอาจชนกัน การที่ลูกปิงปองเบนเข้าหากันนั้น เนื่องจากเมื่อเป่าลมจะทำให้อากาศ ระหว่างลูกปิงปองเคลื่อนที่ ทำให้บริเวณนั้นมีความดันอากาศต่ำลง อากาศบริเวณที่อยู่ด้านนอกลูกปิงปองทั้งสอง ซึ่งมีความดันอากาศปกติ แต่สูงกว่าอากาศระหว่างลูกปิงปองจะดันลูกปิงปองไปในทิศทางที่อากาศ มีความดันต่ำกว่า
การที่อากาศเคลื่อนที่เร็วทำให้บริเวณนั้นมีความดันอากาศลดลง ยิ่ง เคลื่อนที่เร็วมากแค่ไหน ความดันอากาศก็จะยิ่งลดลงมากเท่านั้น และนี่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทอร์นาโด ซึ่งมีความเร็วลมมากอาจถึง 480 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง สามารถทำลายสิ่งต่างๆได้ และหอบเอา บ้าน รถยนต์ และอื่นๆ ไปด้วย
                                                           การทดลองไข่เอ๋ย......จงนิ่ม
                                         
สิ่งที่ต้องใช้

  • แก้ว 1 ใบ
  • ไข่ไก่ 1 ฟอง
  • น้ำส้มสายชู

วิธีทดลอง

  • นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้ว
  • เทน้ำส้มสายชูลงไปให้ท่วมไข่
  • ทิ้งไว้ 1 คืน  อดใจรอนะพอตอนเช้าเทน้ำออกก็แล้วลองจับไข่ดูซิ..
เพราะอะไรกันนะ

น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติก ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง  เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่ม 
                                                            การทดลองความลับของสี
                                              
สิ่งที่ต้องใช้

  • สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน , น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
  • กระดาษกรองกาแฟ , กรองตะกอนน้ำมัน
  • แก้วใส่น้ำ

วิธีทดลอง

    • ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
    • ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
    • จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำ เพราะสีจะลายลายลงน้ำ
    • รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง  เธอเห็นสีอะไรซ่อนอยู่?
    • นำกระดาษไปหนีบผึ่งไว้กับที่ตากถุงเท้า แล้วทดลองสีต่อไป

เพราะอะไรกันนะ

                สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่างๆมากมาย  การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) ซึ่งเป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ 
    1. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน

    2. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน
 
สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น

                                                               การทดลองเปลวไฟลอยน้ำ
สิ่งที่ต้องใช้

  • เทียนไข
  • แก้วทรงสูงใส่น้ำ (ต้องสูงกว่าความยาวเทียนนะ)
  • หมุดหัวหมวก หรือตะปูเกลียวตัวเล็กๆ

วิธีทดลอง

  • เติมน้ำลงในแก้ว 5/6 แก้ว 
  • นำหมุดมาปักลงที่ฐานเทียนไข(ด้านป้าน)
  • นำแท่งเทียนใส่ลงไปในแก้วน้ำ แล้วจุดเทียน

เพราะอะไรกันนะ

            เทียนไขลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ และไฟก็จะไม่ดับ เพราะเทียนทำจากขี้ผึ้งพาราฟินจึงไม่เปียกน้ำ และหมุดหัวหมวก ทำหน้าที่เป็นจุดรวมน้ำหนักให้อยู่ที่แกนกลางแท่งเทียนจึงไม่เอียงคว่ำ ขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียมมีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายกับขี้ผึ้ง จุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ซึ่งขี้ผึ้งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ไม่ละลายน้ำ พาราฟินมักนำมาทำเทียนไข หรือเคลือบวัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนความชื้นจากน้ำ
                         
                                                            การทดลองน้ำส้มสายชูเป่าลูกโป่ง
                                                                
อุปกรณ์ 
1. ลูกโป่งกลม 1 ใบ
2. กรวย 1 อัน
3. ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำส้มสายชู
5. ขวดพลาสติกใสขนาด 1 ลิตร
 6. ช้อนโต๊ะ
การทดลอง
1.  นำลูกโป่งครอบเข้ากับกรวย ดังภาพที่ 1  แล้วบรรจุผงฟูจำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ลงในลูกโป่ง
2.  บรรจุน้ำส้มสายชูลงในขวดพลาสติกใส ประมาณ 1 ใน 4 ของขวด   โดยใช้กรวย เพื่อไม่ให้น้ำส้มสายชูหก
3.  นำลูกโป่งที่บรรจุผงฟูครอบลงไปบนปากขวดพลาสติก ดึงให้แน่น ( ระวังอย่าเพิ่งให้ผงฟูร่วงลงในขวด)
4.  เมื่อแน่ใจว่า ลูกโป่งยึดติดกับปากขวดแน่นแล้ว ให้ยกลูกโป่งขึ้น เพื่อให้ผงฟูหล่นลงในน้ำส้มสายชู สังเกตผลการทดลอง
เป็นอย่างไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นกับลูกโป่ง  เมื่อเรายกลูกโป่งขึ้นเพื่อให้ผงฟูที่อยู่ด้านในร่วงลงไปรวมกับน้ำส้มสายชู   จะสังเกตเห็นว่ามีฟองอากาศปุดๆ เกิดขึ้นมากมายภายในขวดพลาสติก  แล้วเจ้าลูกโป่งที่นอนคอพับอยู่ก็ค่อย ๆ พองขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ  หากเราใช้น้ำส้มสายชูและผงฟูมากเกินไป  ลูกโป่งก็อาจจะแตกได้ หลายคนคงสงสัยว่าอะไรที่เป็นสาเหตุให้ลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้น และสิ่งนั้นก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่เราหายใจออกมานั่นเอง
           เมื่อน้ำส้มสายชูรวมกับผงฟู หรือหลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่า
เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) จะเกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี  และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น   จนได้สารชนิดใหม่  ที่เรียกว่า ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์  สำหรับผงฟูนั้นหลายคนคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่ทำขนม  ซึ่งประโยชน์ของผงฟูนั้นนอกจากจะช่วยทำให้อาหารขึ้นฟู โดยเฉพาะขนมเค้ก หรือคุกกี้ แล้ว ยังสามารถนำผงฟูไปผสมกับน้ำ  สำหรับแช่ผักผลไม้    ซึ่งจะสามารถลดสารพิษตกค้างได้ถึง 90-95  เปอเซ็นต์ 
                                                                 การทดลอง สีเต้นระบำ
                                                                                                                  สิ่งที่ต้องใช้
- นมสด
- สีผสมอาหาร 2-3 สี
- น้ำยาล้างจาน
- จานก้นลึก
- eye dropper หรือ cotton bud
วิธีทำ
- เทนมลงในจาน วางทิ้งไว้ให้น้ำนมนิ่งๆ
- หยดสีผสมอาหารลงไปตรงกลางจาน สีละ 1 หยด
- หยดน้ำยาล้างจานลงไปบนสีผสมอาหาร ไม่ต้องมากนะคะ ทีละ 1 หยด หรือจะใช้ cotton bud ชุบน้ำยาล้างจานจุ่มลงไปตรงกลางสีที่เราหยดไว้ก็ได้ค่ะ
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเราจะเห็นสีวิ่งวนไปมา เคลื่อนไหวไปทั่วจาน จากปฏิกริยาของน้ำยาล้างจานกับไขมันในน้ำนม เมื่อสีหยุดวิ่งแล้ว เราสามารถหยดน้ำยาล้างจานลงไปซ้ำได้เรื่อยๆ ค่ะ จนกว่าน้ำสีจะผสมกันจนกลายเป็นสีหม่นๆ รับรองว่าเจ้าตัวเล็กจะต้องบอก เอาอีก เอาอีก และเอาอีก ^.^
เกิดอะไรขึ้น : ในน้ำนมประกอบไปด้วย น้ำ โปรตีน แร่ธาตุ และไขมัน น้ำยาล้างจานจะไปทำให้โมเลกุลของโปรตีนและไขมันเกิดการเปลี่ยนแปลง และแตกกระจาย โค้ง บิดเบี้ยว ม้วน (ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้เราสามารถล้างจานมันๆ ได้อย่างสะอาดหมดจดนั่นเอง) และสีผสมอาหารที่หยดลงไปในนมจะช่วยให้เราสามารถสังเกตุการเปลี่ยนแปลงที่มองไม่เห็นนั้นได้อย่างง่ายดาย
                                                       จุดประสงค์ของการสร้างบล็อกนี้
                  เป็นความรู้เกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทดลองวิทยาศาสตร์ในเรื่องต่างๆิ        เช่น  เรื่องเรื่องดัน เป็นต้น และสามารถนำการทดลองนี้ไปใช้ใน วิชา วิทยาศาสตร์ เมื่อเรียน  เรื่องนั้นๆ